วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พัฒนางานประชาสัมพันธ์โรงเรียนสู่ชุมชน

โครงการ           
พัฒนางานประชาสัมพันธ์โรงเรียนสู่ชุมชน
สนองกลยุทธ์
ข้อที่  5 กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชน  และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
มาตรฐานการศึกษา     
ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา  
มาตรฐานที่ 18    ตัวบ่งชี้  18.1 ,  18.2 
ผู้รับผิดชอบ นางสาวดรุณี   มิ่งสมร นายนิรุทธิ์  อุทาทิพย์
หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  กำหนดให้ชุมชน  
มีบทบาทในการศึกษาของโรงเรียนอย่างมาก  โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  สถานศึกษา
มีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน  องค์กรทางศาสนา  สถาบันทางวิชาการ  และองค์กรภาครัฐและเอกชน 
เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน  ดังนั้นการประสานงานเพื่อให้เกิดผล       ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
งานประชาสัมพันธ์เป็นการนำเสนอผลงานการปฏิบัติงาน   และรายงานความก้าวหน้าภายในโรงเรียนไปสู่ชุมชน  เพื่อให้ชุมชน  และผู้ปกครองนักเรียนทราบ  และนอกจากนี้ยังเป็นการขอบคุณผู้ที่มีอุปการคุณกับโรงเรียน  ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์โรงเรียนขึ้น
วัตถุประสงค์
1  เพื่อเป็นการเผยแพร่ข่าวสาร  เกียรติยศ  ชื่อเสียง   เกียรติภูมิ  และความสามารถของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนสู่ชุมชน
2  เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียน  และให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
3  เพื่อขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนการศึกษา
4  เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน  ระหว่างบ้าน   องค์กรศาสนา  สถาบันทางวิชาการ  องค์กรภาครัฐและเอกชน
เป้าหมาย

    ด้านปริมาณ
1  จัดทำเอกสารแผ่นพับ   เผยแพร่ข่าวสารความเคลื่อนไหว  ความก้าวหน้าของโรงเรียนสู่ชุมชน  เดือนละ   1   ครั้ง
2  พัฒนาเว็บไซด์ประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย   ตลอดปีการศึกษา
3  ร่วมงานกิจกรรมวันสำคัญของชาติ   วันสำคัญทางศาสนา  และอื่น ๆ

    ด้านคุณภาพ

1  ชุมชนและสังคม   ได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหว   ความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาและกิจกรรมของโรงเรียนมากขึ้น 
2  โรงเรียนและชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประชาสัมพันธ์

คำว่า การประชาสัมพันธ์ แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ Public Relations โดยคำว่า Public แปลเป็นภาษาไทยคือ ประชา ซึ่งหมายถึง หมู่คน และคำว่า Relations แปลเป็นภาษาไทยคือ สัมพันธ์
ซึ่งหมายถึง การผูกพัน ดังนั้นคำว่าการประชาสัมพันธ์เมื่อแปลตามตัวอักษร ก็จะได้ความหมายว่า “การเกี่ยวข้องผูกพันกับหมู่คน”
Bernays (1952) ผู้บุกเบิกงานประชาสัมพันธ์ ให้ความเห็นว่า การประชาสัมพันธ์มีความหมาย 3 ประการ ด้วยกัน คือ 1) เผยแพร่ชี้แจงให้ประชาชนทราบ 2) ชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย
ตลอด จนเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินงานของสถาบัน 3) ประสานความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องให้เข้ากับจุดมุ่งหมาย และวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
สะอาด อ้างโดย วิรัช (2535) ให้คำจำกัดความว่า “ การประชาสัมพันธ์ คือ วิธีการของสถาบันอันมีแบบแผนและการกระทำที่ต่อเนื่อง ในอันที่จะสร้างหรือยังให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชน
เพื่อ ให้สถาบันและกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจ และให้ความสนับสนุนร่วมมือซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ให้สถาบันนั้นๆ ดำเนินงานไปได้ผลดีสมความมุ่งหมาย โดยมีประชามติ
เป็นแนวบรรทัดฐานสำคัญด้วย ”
นอก จากนี้ ยังมีสมาคม สถาบัน ตลอดจนนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์อีกเป็นจำนวนมาก ต่างก็ให้ความหมายและคำจำกัดความของการประชาสัมพันธ์ไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งส่วน
ใหญ่จะมีความแตกต่างกันในถ้อยคำและรายละเอียดปลีกย่อย แต่แนวความคิดและความหมายจะอยู่ในแนวเดียวกันทั้งสิ้น ดังนั้นกล่าวโดยสรุป “การประชาสัมพันธ์ คือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์
และความเข้าใจอันดี ระหว่างองค์กรหรือสถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหวังผลในความร่วมมือและสนับสนุนจากประชาชนนั่นเอง” (วิรัช, 2535)
ศาสตร์และศิลป์ของการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะไปพร้อมๆกัน ในตัวเอง โดยสามารถอธิบายความละเอียด ได้ดังนี้
การประชาสัมพันธ์ที่เป็นศาสตร์
ศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิทยาการ ความรู้ ความเชื่อถือที่กำหนดไว้เป็นระบบระเบียบที่พึงเชื่อถือได้ และสามารถศึกษาค้นคว้าหาความจริงได้อย่างมีระเบียบแบบแผนและมีระบบ
วิชาการ ประชาสัมพันธ์ เป็นวิชาที่มีระเบียบแบบแผน มีเหตุมีผลและอาจศึกษาเรียนรู้ได้จากตำหรับตำราต่างๆ เป็นการศึกษาค้นคว้าหาหลักและทฤษฎีที่น่าเชื่อถือได้ไว้ใช้เป็นแนวทางในการ ดำเนินงาน
ประชาสัมพันธ์ มีการศึกษาค้นคว้าถึงกระบวนการในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่ออธิบายและวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ที่มีปฏิกริยาสัมพันธ์ต่อกันใน สังคม รวมทั้งการศึกษาวิจัยถึง
ประชามติ และความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มบุคคลกับองค์กรสถาบันที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถศึกษา เรียนรู้วิธีการ และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า วิชาการ
ประชาสัมพันธ์อยู่ในขอบเขตของศาสตร์ทางด้านสังคมวิทยา
การประชาสัมพันธ์ที่เป็นศิลปะ
การ ประชาสัมพันธ์มีลักษณะการดำเนินงานที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ รวมทั้งประสบการณ์และทักษะของแต่ละบุคคล ทั้งยังต้องประกอบด้วยเทคนิคการประชาสัมพันธ์บางอย่างที่เป็นความ
สามารถ เฉพาะตัว เช่น ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร ซึ่งถ่ายทอดและลอกเลียนแบบกันได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน เทคนิคอย่างหนึ่งที่นัก
ประชาสัมพันธ์คนหนึ่งนำไปใช้แล้วประสบผล สำเร็จ หากนักประชาสัมพันธ์อีกผู้หนึ่งนำไปใช้อาจไม่ได้ผลและประสบความล้มเหลวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัว ความเหมาะสมของ
สถานการณ์ สภาพแวดล้อม เวลา และสถานที่ เป็นต้น
โดย ที่การประชาสัมพันธ์เป็นการนำเอาหลักการ ความรู้ที่ได้ศึกษามา ไปประยุกต์ใช้ จึงมีลักษณะเป็นศิลปะ การดำเนินงานประชาสัมพันธ์จะยึดถือกฎเกณฑ์ หรือระเบียบแบบแผนที่ตายตัวไม่ได้ แต่จะ